Archive | กรกฎาคม 2012

โรคฝีดาษ

โรคฝีดาษ
โรคนี้เกิดขึ้น เนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคมา คือถูกยุงกัด ลักษณะของโรคที่เกิดขึ้นในขั้นแรกจะเป็นตุ่ม มักพบบริเวณตา จมูก และ ปาก ขา หรือบริเวณที่มีขนคลุมบาง ๆ ต่อมาตุ่มนั้นจะใหญ่ขึ้นเป็นไตแข็งและแตกออกในที่สุด

การป้องกันรักษา

          เมื่อระยะเริ่มแรกของโรค นกจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ต่อมาจะมีตุ่มแถวเกิดขึ้นบริเวณหน้าและตา ฯลฯ ในกรณีที่ไม่ร้ายแรงนกที่เป็นโรคนี้อาจหายไปเองภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ส่วนในรายที่เป็นอย่างร้ายแรงมีตุ่มเกิดขึ้นในลำคอ นกนั้นจะแสดงอาการคอโก่ง เวลาที่พยายามกินน้ำหรืออาหาร จึงต้องเปิดปากออกดูว่าเป็นอาการของโรคฝีดาษหรือไม่ หรือว่าเกิดจากอะไรติดคอ จะได้รักษาได้ทันท่วงที

การักษาในปัจจุบันเราใช้วิธีง่าย ๆ คือ
1. ชนิดที่เป็นในปาก ใช้ปากคีบถอนเอาตุ่มนั้นออก แล้วใช้ออริโอมัยซินชนิดครีมป้ายที่แผล หรือจะใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีน 2 % แต้มแผลก็ได้
2. ชนิดที่ขึ้นบริเวณตา หน้า ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน 2 % แต้มหรือจะใช้ฟินนิซิลลินครีม ป้ายก็ได้เช่นกัน และมียาอีกชนิดหนึ่งซึ่งใช้ได้ผลดี แต่มีสีเปรอะเปื้อนเล็กน้อยคือยาสีม่วง การทาควรทาวันละ 2 หน เช้าและเย็น ไม่นานก็จะหายเป็นปกติ และ เมื่อปรากฏโรคนี้เกิดขึ้นก็จะติดต่อกันได้ง่าย จึงต้องรีบแยกออกจากคู่ทันที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคควรปรึกษาสัตว์แพทย์

โรคอหิวาต์ (Fowl Cholera)

โรคอหิวาต์ (Fowl Cholera)
โรคอหิวาต์นี้ไม่ใช่เฉพาะจะเป็นกับเป็ดไก่เท่านั้น นกก็เป็นโรคนี้กันมากเหมือนกัน สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกิดจากเชื้อพลาสเจอเรลล่า เอวิซิดา(Pasteurella avicida) เชื้อนี้มีอยู่ในอุจจาระของนกป่วย และระบาดติดต่อกันไปได้หลายทาง เช่น แมลงวัน เป็นตัวนำติดไปกับอาหาร น้ำ ติดไปกับภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงดูนก ติดไปกับมือของผู้เลี้ยง เมื่อ เชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายของนก แล้ว จะแสดงอาการให้เห็นได้ภายใน 1 – 3 วัน โดยน้ำพิษ (Toxin) จากตัวเชื้อจุลินทรีย์จะเจริญตัวอยู่ในโลหิตของนกป่วย จะถูกนำไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยกระแสโลหิต ทำให้โลหิตภายในเกิดเป็นพิษ ถ้าเป็นอย่างชนิดร้ายแรงนกจะตายทันทีโดยไม่สังเกตเห็นอาการ ส่วน ในรายที่เป็นอย่างเรื้อรัง ระยะการเป็นโรคจะยาวกว่า อาการเด่นชัด ที่สังเกตเห็นได้จากนกป่วยที่เป็นโรคนี้ก็คือ อาการท้องเดิน อุจจาระเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเขียว มีอุจจาระติดก้น ในปากและลำคอมีน้ำลายเหนียว หายใจหอบ ยืนหงอยซึม อุณหภูมิของร่างกายสูงมาก และตายในที่สุด

การป้องกันรักษา

ใช้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กิน และต้องทำไปพร้อม ๆ กับการทำความสะอาดกรงนกและแยกนกป่วยออก สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ควรปรึกษาสัตว์แพทย์

โรคเชื้อรา (Asperggillosis)

โรคเชื้อรา (Asperggillosis)
โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิด Asperggillus อันเป็นเชื้อราหรือ Fungi เล็ก ๆ จากสารวัตถุผุพังชนิดอื่น ๆ ลักษณะของเชื้อโรคนี้คล้ายเห็ดรา ปรากฏเป็นหย่อมอยู่ในหลอดลม นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการเชื่อง หงอย กินอาหารไม่ค่อยได้ มีขนพอง ระบบการหายขัด มีเสียงครืดคราดในลำคอคล้ายอาการของโรคหืด หรือโรคหลอดลมอักเสบ นับเป็นโรคที่แพร่หลายติดต่อกันได้รวดเร็วทางน้ำ และร้ายแรงมาก อาจทำให้นกตายได้

การป้องกันรักษา

          ถ้านกเป็นในระยะเริ่มต้น หรือยังไม่พบเชื้อราอาจใช้วิธีบำบัดง่าย ๆ โดยหยดกลีเซอรีน(Glycerrin) หรือทิงเจอร์ไอโอดีน(Tincture of Iodine) เล็กน้อยลงในน้ำดื่ม ( 2 – 3 หยด หรือ 5 – 6 หยด แล้วแต่ปริมาณของน้ำ) ทุกวันจนอาการนั้นหาย และโรครานี้มักจะเกิดจากเมล็ดข้าว อาหารที่หมักหมมสกปรก จึงควรระมัดระวังในคุณภาพและความสะอาดของข้าวนั้น ๆ ตามสมควร จะช่วยป้องกันโรคได้ระดับหนึ่ง

โรคนกแก้ว(โรคซิททาโคซิส)

โรคซิททาโคซิส (Psittacosis)
หรือที่เรียกว่า “โรคนกแก้ว” โรคนี้จะเริ่มแสดงกับนกให้เห็นชัดเจนคือ มีการเบื่ออาหาร

          ซึม ขนฟู ลูกตาไม่แจ่มใส ต่อมาจะมีอาการหวัด น้ำมูกไหล และท้องร่วง หากเป็นร้ายแรง

         สัตว์จะตายใน 3 – 4 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ นอกจากนี้แล้วโรคนี้จะติดต่อถึงคนด้วย

การป้องกันรักษา

          ที่ได้ผลแน่นอนในเวลานี้นิยมใช้ Antibiotic เช่น ออริโอมัย-เทอร์มัยซิน หรือซัลฟา เมทราลิน วิธีการรักษาควรรักษาเป็นขั้น ๆ โดยเริ่มจากการแก้ท้องเสีย แล้วให้ยาเจริญอาหาร จากนั้นจึงมาใช้ Antibiotic ในบางกรณีเราต้องให้พวก Antibiotic ก่อน แล้วจึงแก้เรื่องท้องเสียก็ได้ อย่างไรก็ดี โรคนี้ปัจจุบันสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง มีการตรวจกักกันโรคนกที่นำเข้า จะมีก็เป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น

_____________________________________________________

สายพันธุ์ของนกหงส์หยก

สายพันธุ์ของนกหงส์หยก
ปัจจุบันเราจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ

1.สายพันธุ์ฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั่งเดิมที่เลี้ยงกันมานาน มีหลากหลายสี มักจะนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เพื่อความเพลิดเพลิน อดีตถือเป็นนกเบื้องต้นเลยทีเดียวสำหรับผู้ที่เริ่มเลี้ยงนก เนื่องจากเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีผู้เพาะเลี้ยงเพื่อการค้าเป็นจำนวนมาก และยังเป็นสินค้าส่งออกได้ดี เป็นที่ต้องการของตลาก ทำให้ราคานกต่อตัวสูงขึ้นจากอดีตหลายเท่าตัว

2.สายพันธุ์อังกฤษ เป็นนกที่มีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์ฮอลแลนด์มากและสายพันธุ์นี้ก็เป็นปัญหากับนักเลี้ยงหน้าใหม่ว่าเป็นอังกฤษแท้หรือไม่ บางท่าน ถามว่าสายพันธุ์อังกฤษ กับ สายพันธุ์เยอรมัน ต่างกันอย่างไร สิ่งที่ทำให้ผู้เลี้ยงสับสบมักจะเกิดจาก ผู้ค้าเป็นคนกำหนดให้มีความแตกต่างเรื่องขนาดของนก เพื่อต้องการความแตกต่างในด้านราคาตามมาด้วย เท่าที่สังเกตดูตามท้องตลาด อังกฤษที่ขายถ้าจะให้เข้าใจได้ก็คงจะตีความเป็นฮอลแลนด์ตัวใหญ่หรือลูกผสมนั้นเอง แล้วเยอรมันตามท้องตลาด ก็ตีความหมายได้ว่าเป็นสายพันธุ์อังกฤษ นั้นเอง เพราะนกสายพันธุ์อังกฤษที่นำเข้ามาพัฒนากันจากอดีตถึงปัจจุบันมีการนำเข้ามาจากประเทศ อังกฤษ ประเทศเยอรมัน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งโดยทั่วๆไป หรือทั่วโลก ได้เรียกนกที่ได้มีการพัฒนามาจากนกท้องถิ่นดั่งเดิมว่าเป็นนกสายพันธุ์อังกฤษ จะมีก็ประเทศไทย นี่เองที่เรียกนกหงส์หยกสายพันธุ์เยอรมัน

***************************************************

 

 

 

 

ที่มา นายสถาพร แก้วสว่าง

การเลี้ยงดูนกหงส์หยกเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่อยากเลี้ยงนกหงส์หยก
การเลี้ยงนกหงส์หยกเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการหรือให้เกิดผลเสียหายน้อยที่สุดกับลูกนกที่จะเกิดมาถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญต้องเอาใจใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆอย่างมากที่สุดด้วย ทั้งนี้วิธีการต่างๆก็ต้องด้วยประสบการณ์ และการสังเกตลองผิดลองถูกในระยะเวลาพอสมควร เพราะการเลี้ยงดูลูกนกของพ่อ-แม่นกแต่ละคู่ แต่ละคอกก็แตกต่างกัน วิธีการที่ดีบางอย่างอาจจะใช้ได้ผลกับนกบางคู่ และเช่นกันวิธีการที่ดีเดียวกันนั้นก็มักจะใช่ไม่ได้ผลกับพ่อ-แม่นกคู่อื่นๆเลย ทั้งนี้พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกนกของนกแต่ละตัวขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อม อากาศ อาหาร ความสมบูรณ์ของพ่อ-แม่นก และผู้เพาะเลี้ยงนกหงส์หยกก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงนกหงส์หยกให้ได้ผลดีอย่างที่ต้องการหรือไม่

สภาพแวดล้อมในการที่จะทำการผลิตลูกนกให้ได้ผลดี ต้องมีมีการรบกวนจากสัตว์อื่นๆที่เป็นอันตรายกับนกหงส์หยก เช่น งู หนู แมลง ต่างๆ ขณะที่นกกำลังเข้าคู่ผสมพันธุ์หรือขณะดูแลเลี้ยงลูกนกอยู่ ทั้งนี้การจับนกเข้าคู่ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การแยกเข้าคู่นกเพียงคู่เดียวต่อกรงเพาะนกหนึ่งคู่ จะให้ผลผลิตที่ดีและสมบูรณ์มากที่สุดกว่าการปล่อยนกบินในกรงรวม แล้วให้นกจับคู่ผสมพันธุ์กันเอง วิธีการนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงนกหงส์หยกเพื่อความเพลิดเพลิน หรือเลี้ยงประดับสวนเพื่อความสวยงามโดยไม่ต้องการให้นกขยายพันธุ์ไปมากมายนัก

อากาศที่เหมาะสำหรับการเพาะขยายพันธุ์นกหงส์หยกต้องเป็นอากาศที่อบอุ่นไม่ร้อนหรือหนาวมากเกินไป เพราะจะส่งผลเสียหายต่อการเพาะขยายพันธุ์นกหงส์หยกได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาการเพาะพันธุ์นกหงส์หยกในฤดูหนาวน่าจะได้ผลผลิตที่ดีที่สุดคือในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ซึ่งประเทศไทยถือว่ามีอากาศที่อบอุ่น อุณหภูมิไม่ติดลบ ก็จะได้ผลดีกับฟาร์มเพาะเลี้ยงที่อยู่ในอาคารบ้านเรือนแต่สำหรับบางฟาร์มที่เป็นที่โล่งแจ้งมีน้ำล้อมรอบก็ไม่เหมาะกับการเพาะพันธุ์ในฤดูหนาวนี้มากนัก เพราะลูกนกเมื่อใกล้ถึงกำหนดฟักเป็นตัว เมื่อเปลือกไข่เริ่มแตกออก อุณหภูมิภายนอกเข้าไปได้ทำให้ลูกนกหงส์หยกตายก่อนฟักออกเป็นตัวในอัตราการตายที่สูง ในทางกลับกันในช่วงฤดูร้อนเดือน เมษายน- กรกฎาคม เป็นช่วงที่ร้อนที่สุด สำหรับประเทศไทยทำให้ฟาร์มที่อยู่ในอาคารบ้านเรือนร้อนอบอ้าว พ่อ-แม่นกบางคู่ไม่สามารถกกไข่ให้ผลผลิตที่ดีในช่วงนี้ได้มากนักผิดกับฟาร์มที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง และมีน้ำล้อมรอบเป็นบริเวณกว้าง หรือโรงเรือนกลางน้ำ จะทำ

ให้การเพาะขยายพันธุ์ได้ผลผลิตดี ดังนั้นการที่จะเข้าคู่ผสมพันธุ์นกหงส์หยกในช่วงอากาศใดก็ต้องดูความเหมาะสมด้วยถือเป็นการพัก พ่อ-แม่นกไปด้วย เพื่อให้นกมีสุขภาพ แข็งแรงสมบูรณ์ไม่โทรมจากการเพาะขยายพันธุ์ตลอดทั้งปี

อาหารและความสมบูรณ์ของพ่อ-แม่พันธุ์นกหงส์หยก สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงนกหงส์หยกผู้เลี้ยงก็ต้องสังเกตและเอาใจใส่ ผสมสูตรอาหารเองตามความเหมาะสมเพราะนกที่จะนำมาทำพ่อแม่พันธุ์ต้องให้อาหารกับนกแล้วไม่ทำให้พ่อแม่พันธุ์อ้วนมากเกินไป เช่น ข้าวโอ๊ด เมล็ดทานตะวัน การออกกำลังกายของพ่อแม่พันธุ์นกเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดด้วย ก่อนการผสมพันธุ์แต่ละครั้งต้องให้พ่อแม่พันธุ์นกออกกำลังเสริมสร้างความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ แคลเซี่ยมประมาณ 2 เดือน พร้อมกับให้นกผลัดขนให้เรียบร้อยก่อนจับนกเข้าคู่ เมื่อพ่อแม่นกกำลังเลี้ยงลูกอาหารที่สำคัญ เช่นขนมปัง ข้าวโพดอ่อน โดยเฉพาะ ข้าวโอ๊ด ข้าวไรน์ ต้องให้ในอัตราส่วนมากขึ้นด้วย บางฟาร์มอาจจะให้อาหารเสริม จำพวก ซ๊อฟฟู้ด ก็จะเป็นสิ่งที่ดีกับลูกนกด้วยเช่นกัน

ผู้ทำการเพาะเลี้ยงนกหงส์หยกมีผลกระทบอย่างไรกับการผลิตลูกนก อาจจะกล่าวได้ว่าผู้เพาะเลี้ยงมีส่วนสำคัญอย่างมากคือ ต้องเป็นคนที่เอาใจใส่ดูแลและหมั่นสังเกตพฤติกรรมต่างๆของนกทำความสะอาดกรงเพาะ โรงเรือน ไม่รบกวน พ่อ-แม่พันธุ์นกซึ่งอาจจะทำให้นกเกิดความเครียดได้ เช่น นกไม่กกไข่ พ่อแม่จิกตีลูกตัวเอง ไม่ป้อนอาหารให้กับลูกนกเป็นต้น

การเอาใจใส่ดูแลลูกนกที่ให้ได้ลูกนกสมบูรณ์ มีอัตราการตายที่ลดลง โดยเบื้องต้นควรให้พ่อแม่นกเลี้ยงลูกนกไม่เกินคอกละ2 ถึง 3 ตัว ถ้ามากกว่านี้จะทำให้ลูกนกที่ได้มีโครงสร้างและความสมบูรณ์ไม่มีคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อพ่อ-แม่พันธุ์นกที่ดีออกไข่แล้วไม่จำเป็นต้องให้พ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีมีราคาแพงต้องฟัก และเลี้ยงลูกเองควรนำไข่ไปให้พ่อแม่นกมือปืนที่ไข่ในวันเวลาเดียวกัน รับไปฟัก และเลี้ยงดูลูกนกแทน วิธีการนี้จะทำให้พ่อ-แม่พันธุ์นกที่ดีมีเวลาพักโดยส่วนมากจะให้พ่อ-แม่พันธุ์นก เข้าคู่ปีละประมาณ 4 ครั้ง โดยพักครั้งละ 3 เดือนในแม่พันธุ์นก ส่วนพ่อพันธุ์นกที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงและเจริญพันธุ์ดี สามารถนำไปเข้าคู่ผสมพันธุ์กับแม่นกตัวอื่นๆได้เลย เพราะนกพ่อแม่พันธุ์ถ้าไม่ปล่อยให้เลี้ยงลูก ก็จะไม่ป่วยและไม่ทรุดโทรม ผิดกับแม่พันธุ์นกถ้ายิ่งให้เลี้ยงลูก หรือออกไข่ติดๆกันโดยไม่พักจะทำให้แม่นกตายได้เร็วกว่าที่ควรจะเป็นและได้ลูกนกที่ไม่มีคุณภาพด้วยซึ่งเป็นการเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายต่างๆอีกมากในการเลี้ยงลูกนกที่ไม่สมบูรณ์นั้น

การเลี้ยงลูกนกหงส์หยก ของพ่อแม่พันธุ์นกบางคู่จะไม่ค่อยสนใจเลี้ยงลูกนกเมื่อลูกนกมีอายุได้ 2-3 สัปดาห์พ่อแม่นกอาจจะไม่สนใจป้อนอาหารให้กับลูกของมันซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ลูกนกต้องการอาหารอย่างมาก เพื่อการเจริญเติบโตผู้เพาะเลี้ยงต้องหมั่นสังเกตลูกนกว่า พ่อแม่นกป้อนลูกนกสมบูรณ์หรือไม่โดยจับลูกนกดูว่ากระเพาะลูกนกมีอาหารเต็ม ลำตัว ขา ปีก อ้วนท้วนสมบูรณ์จับดูแล้วไม่ผอมแห้งถ้าลูกนกได้รับอาหารไม่เพียงพอผู้เพาะเลี้ยงควรป้อนอาหารสำหรับลูกนกเสริมในเวลาเย็น อีกครั้งหนึ่งก็จะเป็นการดี เพราะจะช่วยให้ลูกนกไม่หิวไปจนถึงเช้า และจะทำให้ลูกนกมีความสมบูรณ์แข็งแรงเพิ่มขึ้นด้วย บางคู่เมื่อลูกนกมีอายุได้ 3 สัปดาห์ให้สังเกตพ่อหรือแม่นกป้อนลูกเก่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นพ่อนกที่ทำหน้าที่ได้ดีวิธีการนี้ให้นำแม่นกออกจากกรงเพาะปล่อยให้พ่อนกเลี้ยงลูกโดยลำพังจะทำให้พ่อนกสนใจลูกนกมากขึ้นป้อนอาหารได้สมบูรณ์เต็มที่ เพราะไม่มีแม่นกที่จะมาสนใจ ผสมพันธุ์ต่อไปและถือเป็นการพักแม่นกอีกวิธีหนึ่งด้วย

กฏการใช้บ็ลอกควรอ่าน…

กฏการใช้บ็ลอกควรอ่านก่อนโพสต์สิ่งใดลงบนเว็บ

ทุกท่านกรุณาทำความเข้าใจเว็บไซต์เว็บเรามิได้มีเจตนาไว้ขายสินค้าแต่อย่างใดเว็บเรามีไว้เพื่อ บอกกล่าว แจ้งข่าว ให้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องของนกสวยงามหลากหลายชนิด หรือหากท่านใดที่จะประกาศซื้อ-ขายนกสวยงามกรุณาเลือกหมวดหมู่ลงประกาศให้ถูกต้องตามหมวดหมู่ด้วยน่ะครับ หากท่านลงประกาศผิดหมวดทางเว็บเราขอลบpostsของท่านโดยมิต้องแจ้งให้ท่านทราบล้วงหน้า หากต้องการเพิ่มหมวดหมู่ใดนอกจากที่มีไว้กรุณาแจ้งได้ที่ บล็อกนี้น่ะครับ

ถ้าพบเห็นบล็อกที่ ผิดหมวด ผิดศีลธรรม กรุณาแจ้ง เราที่นี่ครับ

การเพาะพันธ์หงส์หยก

ขั้นตอนการเพาะพันธุ์
สิ่ง ที่น่าสนใจอีกอย่างในการเลี้ยงนกหงส์หยก นั่นคือการผสมพันธุ์ ก่อนที่ท่านจะผสมพันธุ์นกของท่าน ท่านต้องตรวจดูสภาพรังหรือกรงที่เก็บนก ความสะอาด และอาหารที่ใช้เลี้ยงเตรียมให้พร้อมก่อนที่ท่านจะนำนกผสมพันธุ์

– จัดเตรียมกรงผสมพันธุ์
– เตรียมลูกมะพร้าวแห้ง หรือกล่องรังนก
– จัดอาหารให้โดยเฉพาะอาหารจำพวกแคลเซียมขาดไม่ได้เพราะนกจะนำแคลเซียมไปใช้ใน การสร้างไข่และช่วยให้พ่อแม่พันธุ์และลูกนกมีกระดูกที่แข็งแรง
– จับพ่อแม่พันธุ์นกเข้ากรงผสมพันธุ์

วิธีสังเกตุว่านกเข้าคู่พร้อมผสมพันธุ์ คือ นกตัวผู้จะมีท่าทีลำพอง ชอบเอาปากถูคอนตอนที่เห็นตัวเมีย และจะบินมาป้อนอาหารตัวเมียถ้าตัวเมียยอมกินอาหารที่ตัวผู้นำมาป้อนและชอบ ไซร้ขนให้กันก็ถือว่าเข้าคู่สำเร็จ แต่ถ้าเข้าคู่แล้วทั้งคู่ไม่ปฏิกิริยาต่อกันก็ควรจะเปลี่ยนตัวเมีย หรือตัวผู้ใหม่แล้วรอดูพฤติกรรมต่อไป ในการเข้าคู่นั้นบ้างครั้งเมื่อจับคู่แล้วมันอาจจะชอบกันเลยก็ได้ แต่บางคู่ต้องใช้เวลา4-5วันถึงจะเข้าคู่ แต่บางคู่ก็ไม่ชอบกันเลยก็มี

เมื่อนกเข้าคู่แล้วนกตัวเมียจะเข้าไปสำรวจในกล่องเพาะพันธุ์อยู่ตลอด เมื่อเห็นพฤติกรรมเช่นนี้แสดงว่าอีกไม่นานนกจะผสมพันธุ์แน่นอน หลังจากที่นกผสมพันธุ์แล้วประมาณ 10 วัน นกจะวางไข่ ไข่ที่เพิ่งวางจะมีสีขาวสะอาดและจะวางไข่ใบต่อไปแบบวันเว้นวันจนครบ โดยเฉลี่ยแต่ละคอกจำนวนไข่ที่วางจะมีประมาณ 4-7ฟองบางตัวอาจมากกว่านี้ก็ได้

หลังจากวางไข่จนครบแล้ว ไข่ที่มีเชื้อและสมบูรณ์จะเป็นตัวภายใน 18 วัน ( ไข่ที่มีเชื้อจะมีลักษณะทึบแสงเมื่อส่องไฟสามารถตรวจได้ชัดเมื่อไข่อายุ 10 วันขึ้นไป ) ในระยะนี้ลูกนกจะไม่มีขนขึ้น การสวมแหวนบอกอายุวัน เดือน ปี เกิดควรใส่เมื่อนกอายุได้ 7-8วัน การสวมต้องสวมเข้าที่นิ้วที่ยาวที่สุด 3 นิ้วแล้วเลื่อนแหวนเข้าไปจนถึงขานกแล้วจึงดึงนิ้วที่อยู่ด้านหลังผ่านออกมา การสวมแหวนบอกอายุสามารถทำให้เรารู้ว่านกตัวนั้นๆเกิดจากพ่อแม่ตัวไหน รู้อายุของนก และไม่ทำให้เรานำนกที่เกิดจากพ่อแม่ตัวเดียวกันมาผสมกันเอง ( เรียกว่าผสมเลือดชิด )เพราะจะทำให้ได้ลูกนกที่ไม่แข็งแรง

ในช่วงที่พ่อแม่นกเลี้ยงลูกนี้ต้องให้อาหารสำคัญคือ ขนมปังชุบนมสดใส่จานไว้ พ่อแม่นกจะนำไปจัดการป้อนลูกของมันเอง ลูกนกจะโผล่ออกจากรังประมาณ 4 – 5 สัปดาห์ ระยะนี้ลูกนกจะมีขนดกพร้อมที่จะบินได้ แต่อย่าใจร้อนนำลูกนกแยกออกมาเพราะแม้ว่าลูกนกบางตัวสามารถเทาะเปลือกเมล็ด พืชกินเองได้แต่มันก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นควรทิ้งให้พ่อแม่นกเลี้ยงต่อไปอีกประาณ 10 วันจึงแยกลูกนกออกมาได้ แต่ก็มีนกบางคู่เมื่อลูกนกลงรังแล้วพ่อแม่นกจะทำร้ายลูกตัวเอง หรือไม่ป้อนอาหารแล้วเราควรจะจับแยกทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงควรจะสังเกตุให้ดี

หลังจากที่ลูกนกชุดแรกพ้นรังไปแม่นกจะวางไข่ชุดต่อไปทันทีตราบใดที่รัง เพาะยังอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและแม่นกสุขภาพสมบูรณ์นกจะผสมพันธุ์ต่อไป เรื่อยๆ

เว็บ birdlover

ประวัตินกฟินซ์ Finch

Gouldian Finch มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย ทางตอนเหนือของทวีป เป็นนกพื้นเมือง หากินในทุ่งหญ้า สภาพอากาศร้อน ในตอนกลางวัน อุณหภูมิระหว่าง 15 – 40 องศาเซนเซียส อยู่รวมกันเป็นฝูง ต่อมาได้แพร่หลายไปในทวีปยุโรป และกระจายไปทั่วโลก อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสีสัน ความสวยงาม ที่โดดเด่นในตัวเอง

การแยกเพศลูกนกที่ยังไม่เปลี่ยนสีขน หรือนกที่มีอายุ ประมาณ 2 – 3 เดือนนั้น สามารถสังเกตุได้ที่สรีระ เพศผู้รูปร่างจะเรียวยาว และเริ่มโก่งคอผิวปากเป็นจังหวะ ส่วนเพศเมียนั้นรูปร่างจะออกไปทางป้อมๆและตัวเมียจะไม่แสดงอาการโก่งคอผิว ปาก ส่วนนกที่มีอายุมากตั้งแต่ 6 – 7 เดือนก็สามารถดูเพศได้ง่ายขึ้นจากสีขน เพศผู้จะมีสีขนที่มีสีสรรเข้มกว่าเพศเมีย

ผสมพันธ์นกฟินซ์เจ็ดสี

การผสมพันธุ์
นก เจ็ดสีสามารถที่จะผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่ อายุ 8 เดือน แต่การให้ผลผลิตอาจไม่สำเร็จเท่าที่ควรเพราะ

ยังเป็นนกหนุ่มสาว ไข่อาจมีเชื้อไม่ครบทุกฟอง จำนวนไข่ต่อครอกไม่มาก การกกไข่ไม่สม่ำเสมอ

แต่เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายพร้อมมากกว่านี้ การให้ผลผลิตก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ก็ไม่แน่นอน

บางคู่อาจให้ผลผลิตดีตั้งแต่หนุ่มสาวก็ได้ นกที่โตพร้อมผสมสังเกตุได้ว่าขนจะมันเงา สีสันสดใส ปลาย

ปากจะมีสีเข้ม การเข้าคู่หากทั้งคู่ไม่เข้ากันเมื่อนำนกทั้งคู่แยกเข้ากรงผสม จะสังเกตุได้ว่านกทั้งคู่จะจิกกัน

ไม่ยืนใกล้กัน จะเกาะคอนคนละมุมเลยก็ว่าได้ ส่วนนกที่เข้ากันนั้นตัวผู้จะโก่งคอร้องจีบ กระโดดไปมา

ข้างๆตัวเมีย ถ้าตัวเมียยอมรับก็จะยืนเชิดอกให้ ไม่จิกไล่ตัวผู้ จากนั้นทั้งคู่จะเริ่มสนใจกล่องไข่

จะมีอาการชะโงกหัวมองทางเข้ากล่องไข่มากขึ้น จากนั้นตัวผู้จะเริ่มเข้าไปจัดรังเพื่อเตรียมให้ตัวเมียวางไข่

เมื่อ เราสังเกตว่าตัวผู้เริ่มหายเข้ารังเป็นเวลานานขอให้สันนิษฐานได้เลยว่าตัว

เมียเริ่มวางไข่แล้ว แต่ระยะช่วงแรกนี้การกกไข่จะกกเฉพาะช่วงเช้า พอถึงช่วงเย็นอาทิตย์ตกดิน

นกจะออกจากกล่องไข่ ไปจนกว่านกตัวเมียจะวางไข่จนหมด เมื่อนั้นนกถึงจะกกไข่ ทั้งวัน

ทั้งคืน ในการวางไข่แต่ละครอกนั้น ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 4 – 8 ใบ ต่อครอก แต่ส่วนใหญ่จะเห็น

6 ใบซะส่วนมากและการวางไข่จะวางทุกวันวันละใบจนครบ สำหรับระยะเวลาในการกกไข่ให้นับตั้งแต่ นกเริ่มกกไข่ ทั้งกลางวัน

และกลางคืน ไปประมาณ 14 – 15 วัน นกก็จะเริ่มฟักเป็นตัวการฟักเป็นตัวก็จะฟักเป็นชุดๆ อาจจะฟักวันละตัวบ้า

วันละ2 ตัวบ้าง ( ลูกนกแรกเกิดนั้นจะมีตุ่มเรืองแสงติดอยู่ที่บริเวณมุมปาก เนื่องจากธรรมชาตินกเจ็ดสีจะทำรังในโพรงมืด

ปุ่มเรืองแสงนี้เองจะช่วยให้พ่อแม่นก สามารถนำอาหารมาป้อนให้ลูกนกได้ถูก ซึ่งเมื่อนกอายุได้ประมาณ

60 วัน ปุ่มนี้ก็จะหายไปเอง )หลังจากลูกนกฟักเป็นตัว พ่อแม่ จะนำอาหารไปเลี้ยงลูกจนโต ประมาณ 20 – 25 วัน

ลูกนกก็จะลงรัง แต่ยังไม่ควรแยกลูกนกออกจากกรง ควรจะให้พ่อแม่นก ป้อนอาหาร ต่อไปจนเห็นว่าลูกนกสามารถกินเองได้

เลิกขออาหารจากพ่อแม่แล้ว จึงแยกลูกนกออก

นกสวยงามเมืองไทย