Archive | กรกฎาคม 2012

อาหารนกฟินซ์เจ็ดสี

อาหาร
อาหารของนกเจ็ด สี ส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดพืชขนาดเล็กมีหลายชนิด เช่น มิลเล็ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่างแดง – ดำ เป็นต้น

อาหารที่ชอบมากของฟินช์เจ็ดสีก็คือ มิลเล็ตสเปรย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อยาว ผู้เลี้ยงควรนำไปแขวนไว้ภายในกรง

เพื่อให้นกได้แทะกินอยู่เสมอ อัตราส่วนของอาหารที่จะผสมให้กับนกกินควรประกอบไปด้วย มิลเล็ต ข้าวไรน์

ข้าวฟ่างแดง ดำ ไนเจอร์(ให้โปรตีน) ผสมในอัตราส่วนที่พอเหมาะ

นอกจากอาหารหลักที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อาหารเสริมก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนกเจ็ดสี เพราะนกที่เราเลี้ยง

ไม่สามารถหากินเองได้เหมือนนกที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น กระดองปลาหมึก เปลือกไข่ ดินดำ อาหารไข่ ข้าวโพดปาดผิว

ผักกาดหอม เป็นต้น และ น้ำดื่มควรเปลี่ยนให้นกทุกวัน

..กลุ่มเพราะพันธ์นกสวยงามบางบัวทอง..

เพาะพันธ์ค๊อคคาเทล

นกคอคคาเทล โดยปกติ จะเริ่มเพาะพันธ์กันเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป โดยสามารถเริ่มจับเข้าคู่ก่อนได้ อาจจะสัก 8 – 9 เดือน รอเวลาสักนิด 1 ปีแขวนรัง อายุนกก็จะมากพอสมควร แต่แนะนำว่าให้รอจนนกผลัดขนเรียบร้อยก่อนเข้าเพาะ เพื่อความสมบูรณ์ของตัวพ่อแม่นกและลูกนกที่จะตามมา

** ก่อนการเข้าเพาะพันธ์ หรือช่วงเข้าคู่นก สามารถให้วิตามิน แคลเซียม เพื่อเตรียมความพร้อมได้เลย

หลายคนอาจจะสงสัย พอเริ่มจับคู่ แทนที่ ตัวเมียจะเข้ารัง แต่เป็นตัวผู้เข้ารังแทน ทั้งเคาะรัง คุ้ยขี้เลื่อย ไล่กัดตัวเมีย ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้รักกันดี นี่คือ ตัวผู้พร้อมจะเพาะพันธุ์แล้ว หากตัวเมียพร้อมก็อาจจะผสมพันธุ์แล้วเข้าไปวางไข่เลย หรือ ไม่พร้อม ตัวผู้ก็อาจจะ ไล่เพื่อให้เข้ารังได้

เมื่อนกพร้อม ตัวเมียก็จะเข้ารังเพื่อวางไข่ แล้วเมื่อไหร่ ที่เราจะรู้โดยที่ไม่ต้องเปิดดูคือ เมื่อ เราไม่เจอตัวผู้ตอนกลางวัน และไม่เจอตัวเมียตอนกลางคืนค่ะ หรือ นกตัวเมียบางตัวจะกกไข่ของเธอตลอด ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ตัวผู้จะหายไปนานผิดปกติในช่วงกลางวันและ ออกมานอนหน้ารังตอนกลางคืน แต่ส่วนมากเราจะไม่เห็นนกทั้งคู่อยู่ในกรงพร้อมๆกัน

** ช่วงเวลาฟักไข่ นกจะกินข้าวน้อยกว่าปกติจนเห็นได้ชัดเลย แนะนำว่าใส่วิตามินผสมน้ำให้ด้วยนะ

หลังจาก 18 วันผ่านไป หากลูกนกเกิด ประมาณ 1 วัน เราก็จะได้ยินเสียง “จิ๊กๆๆ” เบาๆจากในรังแล้ว ตอนนี้พ่อแม่นกจะขยันกินมากๆเลย ใส่อาหารให้ตามปกติได้เลย และเพิ่มอาหารให้มากขึ้นวันละหน่อยตามตัวและปริมาณลูกนกในรัง

โดยปกติ เมื่อลูกนกอายุ 7 วันก็จะเริ่มลืมตา จน 14 วันเริ่มมีขนหนามๆแทงขึ้นมา ส่วน 20 วัน ขนหนามทั้งตัวจะเริ่มยาว และปลายขนปีกบินจะเริ่มแตกเป็นใบพาย ช่วงนี้ถ้าอยากได้ลูกนกเชื่องๆ สามารถแยกพ่อแม่มาป้อนเองได้ ค่อนข้างจะปลอดภัยแล้ว

แต่หากต้องการให้พ่อแม่ป้อนจนโต ก็สามารถแยกลูกนกได้เมื่ออายุลูกนกประมาณ 2 เดือน โดยก่อนแยกลูกนกออกจากพ่อแม่ เราต้องรู้ว่าลูกนกสามารถกินอาหารได้เองแล้วจริงๆ

ความถี่ในการเพาะพันธุ์ นกคอคคาเทลสามารถออกไข่ได้ตลอดทั้งปี ออกได้เรื่อยๆ ตามความสมบูรณ์ของพ่อแม่นก ถ้าพ่อแม่นกเลี้ยงลูกเองจนลงรัง (ป้อนจนลูกนกกินอาหารเองเป็น) ก็เพาะได้ประมาณ 3 คอก ต่อปี หรือถ้าเอาลูกนกมาป้อนเองก็อาจจะได้ถึง 4 คอกต่อปี แต่อย่าลืมบำรุงพ่อแม่นกด้วยนะ เพราะถ้าให้ออกไข่เลี้ยงลูกจนขาดความสมบูรณ์ไป พ่อแม่นกก็อาจจะหยุดไข่ไปอีกนาน หรืออาจจะเกิดอาการ ไข่ติดท้อง และอาจจะตายได้

ประกาศขายไก่แจ้

ประกาศขายไก่แจ้พันธ์พสมราคาคุยได้น่ะครับ

ไก่อยู่ที่ จ.นนทบุรี อ.บางบัวทอง

ไก่สบูรณ์สมวัย ขายด่วน

ตัวผู้ และตัวเมีย ………………………………………..

มาดูไก่ก่อนได้ …………………………………………

ติดต่อ 0898945183

 

สายพันธ์ของนกค๊อคคาเทล

สายพันธ์ของนกค๊อคคาเทล

                    พันธุ์ Cinnamon (สีอบเชย)
พันธุ์นี้ตั้งขึ้นในเบล เยี่ยม ปลายปี พ.ศ.2503 โดยผู้เลี้ยงแถบยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) บางครั้งยังหมายถึง Isabelle นกอบเชยเป็นนกที่มีสีต่างกันมาก อย่างนกที่โตเต็มที่สีจะเข้มกว่านกที่มีอายุยังน้อย และสียังปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยจะยิ่งทำให้สีนกเข้มขึ้น เพศนกจะสังเกตง่ายหลังผลัดขนครั้งแรก โดยในตัวผู้เมื่อขนใหม่เจริญขึ้นสีจะเข้มกว่าสีของเส้นลายใต้ลำตัวของขนหาง นกตัวเมียจะเก็บขนหางไว้ใต้ปีก (หางตก) ในนกอบเชยยังมีลูกผสมที่มีอยู่อีกหลายพันธุ์ เช่น

1. พันธุ์ Dilute Cinnamon Pied เป็นลูกผสมที่เกิดจากการผสมของ Cinnamon Pied (ลายพร้อย) ได้สีอบเชยที่จางลง กลายเป็นสีครีมที่เด่นขึ้น
2. พันธุ์ Pearl (Lacewing) Cinnamon (ไข่มุกปีกไขว้อบเชย) เป็นลูกผสมระหว่าง Cinnamon กับ Pearl (ไข่มุก) เป็นลูกผสมที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากระหว่างเพศผู้และเพศเมีย
3. พันธุ์ Primrose Pearl (Lacewing) Cinnamon (ไข่มุกเหลืองอ่อนปีกไขว้อบเชย) เป็นลูกผสมระหว่าง Pearl กับ Cinnamon ได้สีแต้มเหลืองในเพศเมียที่สวยงามมากอีกพันธุ์หนึ่ง

                    พันธุ์ Dominant Silver (สีเงินเด่น)
เกิด จากการผสมในประเทศอังกฤษราวปี พ.ศ. 2522 โดยการผสมคอคคาเทลในกลุ่มพันธุ์เดียวกันเลี้ยงรวมกันได้ลูกผสมออกมา แล้วนำลูกผสมที่ได้ไปผสมกับนกต่างกลุ่ม จึงพัฒนาเป็นสีเงินเด่น
ลักษณะสี เงินเข้มขึ้นรอบๆฐานคอจนถึงส่วนหัว มีแต้มสีส้มที่แก้มในขณะที่ขนหงอนและคอเป็นสีเหลือง จุดเด่นคือสีขนเข้มหน้าเข้ม ในเพศเมียจะสีอ่อนกว่าเพศผู้ แต่เพศเมียบางตัวอาจสีเข้ม นัยน์ตาและขามีสีดำในตัวที่อ่อนกว่าจะดูคล้ายนกลูติโน่ แต่มีสีเทาพาดจึงคงลักษณะพันธุกรรมเด่นของพันธุ์ หรือการผสมผสานกันระหว่างสีเงินกับสีอื่นๆ ก่อให้เกิดสีที่แยกกัน เช่น สีขาวผสมสีเงิน แต่ไม่ปรากฎร่องรอยของสีเหลืองและสีส้มเหลืออยู่เลย แม้แต่จุดส้มที่แก้มก็หายไปที่รู้จักกันในนาม Platinum (ทองคำขาว)

                   พันธุ์ Lutino (ลูติโน่)
เป็นนกที่ผสมได้ที่มีสีเหลืองอ่อนทั้งตัว ขาและนัยน์ตาสีออกแดงชมพู ขนหงอนสีเหลืองเข้มกว่าสีขน ปากสีครีมอมชมพู จุดแต้มข้างแก้มสีส้ม

                    พันธุ์ Albino (อัลบิโน่)
เป็นลูกผสมระหว่าง white faced (หน้าขาว) กับพันธุ์ Lutino ได้นกที่มีขนสีขาวทั้งตัว เนื่องจากไม่มีเม็ดสี นัยน์ตาเป็นสีแดง เป็นนกที่มีราคาแพงชนิดหนึ่ง ผสมพันธุ์ครั้งแรกในเยอรมัน ราวปี พ.ศ. 2503 โดยใช้พ่อพันธุ์ ลูติโน่กับแม่พันธุ์หน้าขาวได้ลูกนกเป็นลูติโน่หน้าขาว แล้วเอาคู่นกลูกผสมเพศผู้ (หน้าขาวลูติโน่) ผสมกับเพศเมียลูติโน่ ได้ลูกผสมแล้วทำการผสมระหว่างลูกนกผสมเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะได้พันธุ์อัลบิโน่ในรุ่นที่ 2 นี้ (โอกาส 1 ใน 4) เพราะการรวมของโครโมโซมเกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ทางกลับกันอาจไม่ได้เลยก็ได้

                     พันธุ์ Pied (ลายพร้อย)
เป็นลูกผสมที่มีขนลายพร้อย อาจมีลายเด่นที่ปลายขนหรือลายตามซอกขน เป็นนกที่นิยมกันมาเก่าแก่ในแคลิฟอร์เนีย การแยกเพศมักฟังจากเสียงร้อง

                      พันธุ์ Normal หรือ Normal grey
พบส่วนมากใน ธรรมชาติของออสเตรเลียขนเป็นสีเทาอ่อน ที่หางส่วนบนเป็นสีเทาเงิน และจากหางส่วนบนไล่ไปสุดปลายสีเทาเข้มไล่ไปจนเป็นสีดำ บริเวณคอมีสีเหลือง ที่แก้มสีส้ม นัยน์ตาสีดำ ขนหงอนด้านหน้ามีสีเหลืองและค่อยๆกลายเป็นสีเทา

                      พันธุ์ White-faced (หน้าขาว)
เป็นพันธุ์ที่เกิด ครั้งแรกในฮอลแลนด์สีขนทั่วไปคล้ายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ที่หน้าจะเป็นสีขาวโดยไม่มีสีเหลืองและแต้มสีส้มให้เห็นแม้แต่น้อย โดยในเพศผู้จะเห็นสีขาวได้เด่นชัดกว่าตัวเมียซึ่งจะออกเทา

                       พันธุ์ Pearl (ไข่มุก)
เป็นพันธุ์ที่มีลายปีกคล้าย ฝาหอย อาจจำกัดอยู่ที่ส่วนหลัง และปีกหรืออาจเลยไปถึงหน้าอก สัญลักษณ์ที่เด่น คือ ปีกไขว้ในเพศเมีย สีพื้นเทามีลายเป็นสีเหลือง

สีของนกหงส์หยก

สีของนกหงส์หยก
1. โทน Green Series ประกอบด้วย นกสี LightGreen, DarkGreen, Olve นกกลุ่มสีนี้ 2 สีแรกจะเป็นสีที่พบเห็นได้บ่อยๆ ครับ ส่วน Olive หาอยาก

2. โทน Blue Series เป็นสีรหลักๆ ประกอบด้วย นกสี SkyBlue, Cobalt, Mauve นกกลุ่มสีนี้ 2 สีแรกจะเป็นสีที่พบเห็นได้บ่อยๆ  ส่วน Mauve ค่อนข้างหายาก

3. โทน Grey Series คือ นกสี Grey

4. โทน Violet คือ นกสี Violet

5. โทน Grey Green เป็นนกสี ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสีเขียวและเทา

 

ชมรมเพราะพันธ์นกหงส์หยกบางบัวทอง

 

นกหงส์หยกชอบกินอะไร

อาหารของนกหงส์หยก
นกหงส์หยกเป็นนกที่กินน้อยแต่จะกินอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงควรหมั่นตรวจดูที่ใส่อาหารอยู่เสมอว่านกกินอาหารหมดรึยังการเลี้ยงนกหงส์หยกควรให้อาหารเสริมบ้างบางครั้งเพราะจะทำให้นกแข็งมีสุขภาพดี อาหารนกมีหลายชนิด ดังนี้

เมล็ดพืชและธัญญพืช
เมล็ดพืชเป็นอาหารพื้นฐานที่สำคัญต่อนกหงส์หยก มีอาหารหลักคือ เมล็ดข้าวเดือยและข้าวฟ่างผสมกับเมล็ดข้าวชนิดอื่น ๆ ตามสัดส่วน ปัจจุบันสามารถหาซื้ออาหารกล่องหรือใส่ซองหรือถุงขายทั่วไปได้ตามท้องตลาดหรือบางท่านอาจผสมอาหารเลี้ยงนกหงส์หยกเองก็ได้ อาหารผสมที่ผสมเองควรเก็บให้มิดชิดไม่ให้อากาศเข้าจะได้ใหม่และสดเสมอ

ข้าวโอ๊ต
นกหงส์หยกส่วนใหญ่จะกินข้าวโอ๊ตทั้งเมล็ด ควรให้ข้าวโอ๊ตนาน ๆ ครั้งเพราะจะทำให้นกอ้วนมาก

แคลเซียม
ร่างกายนกต้องการแคลเซียมที่หาได้จากลิ้นปลาหมึก (กระดองปลาหมึก) ซึ่งแคลเซียมจะทำให้นกมีจงอยปากแข็งแรง และนกตัวเมียต้องการแคลเซียมเพื่อนำไปสร้างไข่ นกที่ขาดแคลเซียมเมื่อวางไข่ไข่อาจจะมีลักษณะเล็ก นิ่มและใสก็ได้ กระดองปลาหมึกสามารถหาซื้อได้ตมร้านขายอาหารนกทั่วไป

ผักสีเขียวและผลไม้
อาหารจำพวกผักสีเขียวเป็นอาหารบำรุงสุขภาพนก เช่น กะหล่ำดอก คะน้า ผักบุ้ง เป็นต้น ที่สำคัญควรล้างอาหารเหล่านี้ด้วยน้ำสะอาดก่อนเพื่อชำระสารตกค้าง อาหารอื่นเช่น ข้าวโพด และผลไม้ต่างๆ เช่นแอปเปิล

เม็ดกรวด
เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในระบบการย่อยอาหารนกจะกินกรวดขนาดเล็กปนไปกับอาหารเมื่อเมล็ดพืชและเม็ดกรวดลงไปรวมกันในกระเพาะอาหารก็จะเกิดการบดและสามารถนำไปเลี้ยงร่างกายได้ ผู้เลี้ยงอาจหาซื้อกรวดเหล่านี้ได้จากร้านขายอาหารนกได้ บางชนิดผสม granulated charcoal ซึ่งเป็นถ่านหินชนิดที่มีประโยชน์

น้ำสะอาด
นกหงส์หยกไม่ดื่มน้ำเป็นจำนวนมากๆ แต่ต้องมีน้ำดื่มสะอาด เตรียมไว้เสมอ

ความเป็นมา นกหงส์หยก (Budgerigar)

นกหงส์หยก (Budgerigar) เป็นนกที่มีเหล่าเดิมอยู่ที่ทวีปออสเตรเลียโดยเฉพาะในประเทศออสเตรเลียจะพบ เห็นนกพวกนี้อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆในแถบโซนร้อนของประเทศ ชาวออสเตรเลียเรียกนกหงส์หยก ว่า Budgie ( บั๊ดจี้ )ซึ่งเข้าใจว่าเป็นคำย่อมาจากคำว่า Budgerigar ( บั๊ดเจอริการ์ ) ที่เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวออสเตรเลียนั่นเอง

นก หงส์หยกเป็นนกที่อยู่ในป่าออสเตรเลีย เกาะกลุ่มอาศัยกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มีสีเขียวอ่อน หรือ สีตองอ่อน มากกว่าสีอื่น ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มสีของนกดั้งเดิมต่อมาได้มีการผสมพันธุ์ได้สีอื่น ๆ แปลกตา เช่นกลุ่มสีฟ้า สีเทา สีม่วง ฯลฯ

นกหงส์หยกป่าจะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูที่มีเมล็ดหญ้าอาหารของมันขึ้นดกดื่น เมื่อฤดูผสมพันธุ์สิ้นสุดลงนกหงส์หยกจะบินมารวมกันเป็นฝูงใหญ่นับร้อยนับพัน ตัว แล้วเดินทางข้ามป่าหญ้าอันกว้างใหญ่ไปหากินยังแหล่งอื่นที่มีหญ้าอุดม สมบูรณ์ต่อไป
ประมาณปี ค.ศ. 1840 นกหงส์หยกป่าสีเขียวชุดแรกถูกนำไปเผยแพร่ในยุโรปรวมทั้งประเทศอังกฤษซึ้ง สมัยนั้นนกหงส์หยกสร้างความตื่นเต้นชื่นชอบในหมู่นักนิยมเลี้ยงนกชาวอังกฤษ เป็นอย่างมาก นกหงส์หยกที่ส่งไปขายที่อังกฤษถูกผสมพันธุ์แพร่หลายเป็นผลสำเร็จ และเผยแพร่ไปในประเทศยุโรปอื่น ๆ ด้วย

สำหรับประเทศไทยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่านำเข้ามาปีไหน แต่เข้าใจว่าเป็นนกที่นำเข้ามาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งบ้านเราแบ่งออกเป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ คือ พันธุ์อังกฤษ ( ตัวใหญ่ ) และพันธุ์ฮอลแลนด์ ( ตัวเล็ก )

พ่อแห่งแผ่นดิน

พ่อของแผ่นดิน

“…การ จะเป็นเสือนั้น ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิต อาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้พสกนิกร ไทยได้น้อมนำไปปฏิบัติเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ เพื่อสร้างความสุขตามอัตภาพของตนอย่างยั่งยืน แม้พระองค์ได้ทรงพระราชทานปรัญญาดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานานแล้วก็ตาม แต่ทุกครั้งที่พระองค์ทรงมีโอกาส พระองค์จะทรงเตือนสติคนไทยผ่านพระราชดำรัสต่างๆ อยู่เสมอ

การ พระราชทานพระบรมราโชวาทในครั้งนั้น ทำให้พสกนิกรหันมาให้ความสำคัญกับการน้อมนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ เนื่องจากในช่วงนั้นประเทศไทยอยู่ในช่วงประสบกับเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ซึ่งส่งผลกระทบต่อชนชนกลางจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พสกนิกรไทยรู้จักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงช่วยให้ ราษฎรและประเทศชาติรอดพ้นจากวิกฤติอันร้ายแรงไปได้

อย่าง ไรก็ตาม ปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง ถือเป็นหลักการดำเนินชีวิตที่ประชาชนทุกระดับ และหน่วยงานขนาดต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงานได้